วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ศาสตร์พระราชา พออยู่พอกิน


ศาสตร์พระราชา พออยู่พอกิน

พออยู่ พอกิน พอใช้ รากฐานของความพอเพียง





หรือ www.rsutv.tv/33654/

    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จาก แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการเรื่องค่าใช้จ่าย รายรับ รายจ่าย ในแต่ละเดือน คือ ใช้จ่าย 3 ส่วน และเก็บออม 1 ส่วนเพื่อทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงดังนี้...
                1.ความพอมีพอกิน ดำเนินชีวิตอย่างรู้จักกิน รู้จักใช้ ในครัวเรือน หากพอมีเหลือรู้จักแบ่งปันให้เพื่อนบ้านใกล้ เรือนเคียง
                2.ความ พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านพักอาศัยน่าอยู่ พยายามใช้แต่ของที่มาจากธรรมชาติ เพื่อลดรายจ่าย และทำให้สุขภาพดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) ใช้น้ำ ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด
                3.ความพออกพอใจ เราต้องรู้จักพอประมาณตน รู้จักการออมวันนี้ เพื่อเป็นเศรษฐีวันหน้า
                4.เมื่อมีรายได้แต่ละเดือน ต้องรู้จักบริหารจัดการค่าใช้จ่าย 3 ส่วน เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าจิปาถะ ที่ใช้ในครัวเรือน รวมทั้งค่าเสื้อผ้า เครื่องใช้บางอย่างที่ชำรุด ต้องยึดความประหยัด ตัดทอนรายจ่ายในทุกๆ วันที่ไม่จำเป็น ลดการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยโดยเด็ดขาด อีก 1 ส่วนนั้นต้องรู้จักเก็บออม
                 การยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้ ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือย  ในการดำรงชีพ ยึดถือการประกอบอาชีพ เลี้ยงชีพชอบด้วยความถูกต้องและสุจริต  ดำเนินชีวิตด้วยความสุขความเจริญอันแท้จริง หมายถึง ความสุข ความเจริญ ที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความแก่งแย่งเบียดบังจากผู้อื่นในสังคม.../  
พออยู่ พอกิน พอใช้ คือ คำสอนของพ่อ ที่สอนคนไทยมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า ๒๐ ปีแล้ว แต่ลูกๆทั้งหลาย หาได้เอาใจใส่ ใส่ใจอย่างจริงจัง ตั้งแต่ ชาวบ้าน ประชาชนทั่วไป ข้าราชการทุกระดับชั้น นักการเมืองในทุกระดับชั้น บางคนก็พูดเอาสวย เอาคะแนน ว่าขอรับใส่เกล้า และจะปฏิบัติตามคำสอน เขาก็ช่างใส่เกล้าจริงๆ คือ ใส่ไว้ ใส่แล้วใส่เลย แล้วก็ไม่ได้มีการนำออกมาใช้ มานำใช้ มาแนะนำต่อ มาขยายผลต่อใดๆทั้งสิ้น อย่างที่เราคนไทยเห็นกับสิ่งที่เป็นอยู่
อะไรคือ พออยู่ พอกิน พอใช้
พออยู่ คือ การที่เราปลูกป่าที่ให้ไม้ พืช ที่จำเป็นต่อการนำมาใช้ทำ ที่อยู่อาศัยต่างๆ เช่น ไม้ทำเสา ไม้ทำพื้น ไม้ทำฝา ไม้ทำโครงสร้างบ้านต่างๆ เป็นต้น ครั้นเมื่อเหลือใช้ เราก็แบ่งจ่ายแจก ขาย เป็นรายได้เสริมให้ครอบครัวได้การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ดังพระราชดำรัสว่า
. . . ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง. . .
2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม ดังพระราชดำรัสที่ว่า
. . . ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจาก การประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพ ของตนเป็นหลักสำคัญ. . .
3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต ซึ่งมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ว่า
. . . ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น. . .
4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ พระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความชัดเจนว่า
. . . การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่ จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง. . .
5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราโชวาทว่า . . . พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา และเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น. . .
ทรงย้ำเน้นว่าคำสำคัญที่สุดคือ คำว่า “พอ” ต้องสร้างความพอที่สมเหตุสมผลให้กับตัวเองให้ได้และเรา

ก็จะพบกับความสุข

หน้าหลัก

ประวัติ

ประวัตินะจ๊ะ




นาย ธนิก กิตติอภิธาน ม.6/11 เลขที่ 2
อายุ  18ปี
สัตว์ที่ชอบ  ทาสแมว ชอบหมา รักสัตว์
ศึกษาอยู่ที่ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
หน้าหลัก